การศึกษาการแพ้ยาของผู้ป่วยที่มารักษาที่ศูนย์โรคผิวหนังเขตร้อนภาคใต้ จังหวัดตรัง

บทคัดย่อ

         พัชนี โตทับเที่ยง, ปิยะนุช สามทิพย์, สุวิมล จันมน

         การศึกษาการแพ้ยาของผู้ป่วยที่มารักษาที่ศูนย์โรคผิวหนังเขตร้อนภาคใต้ จังหวัดตรัง ปี พ.ศ. 2550-2554. ศูนย์โรคผิวหนังเขตร้อนภาคใต้ จังหวัดตรัง

ที่มา

         อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยามีโอกาสเกิดขึ้นได้จากการใช้ยาทุกชนิด สำหรับประเทศไทยมีรายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการแพ้ยาที่เกิดจากยาปฏิชีวนะมากที่สุด นอกจากนี้ยังมีกลุ่มยาอื่นๆอีกที่ก่อให้เกิดการแพ้ในผู้ป่วย สำหรับการรักษาโรคผิวหนัง ก็มีการใช้ยาในกลุ่มดังกล่าวเป็นจำนวนมาก จึงมีโอกาสเกิดการแพ้ยาในผู้ป่วยได้

วัตถุประสงค์

         เพื่อศึกษาการแพ้ยาของผู้ป่วย ที่มารักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกของศูนย์โรคผิวหนังเขตร้อนภาคใต้จังหวัดตรังปี พศ. 2550-2554

วิธีการ

         การศึกษานี้เป็นศึกษาย้อนหลังถึงอุบัติการณ์ ลักษณะ และชนิดยาที่เป็นสาเหตุของการแพ้ยา รวมถึงการแพ้ยาซ้ำของผู้ป่วย ที่มารักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกของศูนย์โรคผิวหนังเขตร้อนภาคใต้จังหวัดตรังย้อนหลัง 4 ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.2550 – เดือนสิงหาคม พ.ศ.2554 จำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 267 ราย

ผลการศึกษา

         การศึกษานี้เก็บข้อมูลผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ยา ทั้งหมด 267 คน โดยผู้ป่วยได้รับยาที่แพ้จากศูนย์โรคผิวหนังเขตร้อนภาคใต้จังหวัดตรังทั้งหมด 53 คน และได้รับยาที่แพ้จากที่อื่นทั้งหมด 206 คน กลุ่มของยาที่พบว่าแพ้มากที่สุดคือยาปฏิชีวนะ พบทั้งหมด 118 ราย คิดเป็น 39.30% โดยพบว่าเป็นยา cotrimoxazole มากที่สุด มีผู้ป่วยที่ยังไม่รู้ชื่อยาที่แพ้ถึง 94 ราย (31.30%) ลักษณะอาการของผื่นแพ้ยาที่พบบ่อยที่สุดคือ Maculo-papular rash ทั้งหมด 117 ราย คิดเป็น 39% รองลงมาคือ urticaria และ angioedema (101 ราย คิดเป็น 34%) และ eczematous eruption (45 ราย คิดเป็น 15%) ตามลำดับ ส่วนยาที่ผู้ป่วยได้รับจากที่ศูนย์โรคผิวหนังเขตร้อนภาคใต้ จังหวัดตรัง ทั้งหมด 53 คนนั้น เป็นรับประทาน 40 คน และยาทา 13 คน โดยยารับประทานที่พบว่าแพ้มากที่สุดคือ ยา Griseofulvin (8 ราย คิดเป็น 19.1%) ส่วนยาทาที่พบบ่อยที่สุดคือ Benzyl peroxide (3 ราย คิดเป็น 27.3%

สรุป

         การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงข้อมูลการแพ้ยาเป็นภาพรวมและภาพย่อยจากศูนย์โรคผิวหนังเขตร้อนภาคใต้ จังหวัดตรัง และแสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการเฝ้าระวังการแพ้ยาของผู้ป่วย

คำสำคัญ : อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา, การแพ้ยา, การแพ้ยาซ้ำ

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save