ความรู้เรื่อง…กลาก

  

กลาก (Tinea)

สาเหตุ

กลาก เป็นโรคเชื้อราที่ผิวหนัง พบได้บ่อยในประเทศที่มีอากาศร้อนและความชื้นสูง “กลาก” เป็นได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีเหงื่อออกมากใส่เสื้อผ้าหมักหมม เชื้อราชนิดนี้มีอยู่ทั่วไปตามพื้นดินสามารถทำให้เกิดโรคได้ทั้งคนและสัตว์ คนสามารถติดเชื้อได้จากพื้นดิน หรือจากการสัมผัสกับสัตว์และคนที่เป็นโรค บริเวณที่ติดเชื้อเกิดได้ทุกส่วนของร่างกาย

อาการ

ลักษณะเป็นผื่นรูปวงแหวน มักลุกลามมีขนาดกว้างขึ้นเรื่อยๆ อาจมีตุ่มแดงหรือตุ่มน้ำพุพองร่วมด้วย มีอาการคันมาก
กลาก เกิดขึ้นบริเวณต่างๆ ของร่างกายที่สัมผัสกับเชื้อ ได้แก่
กลากที่หนังศีรษะ มักพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่หนังศีรษะที่มีการ ติดเชื้อจะเป็นวงขาวลอกเป็นขุย หรืออาจมีการอักเสบและคัน

กลากที่หน้า สำตัว แขน ขา รักแร้ ใต้ราวนม ขาหนีบ ก้น มือ และเท้า เป็นวงแดงมักเริ่มจากขนาดเล็ก แล้วขยายวงกว้างออก
กลากที่เล็บมือเล็บเท้า สีของเล็บจะเปลี่ยนเป็นสีขาวทึบ เหลือง น้ำตาลหรือดำ เล็บหนาขรุขระ เปราะ และเปื่อยยุ่ย

การรักษา

  • ทายาเฉพาะที่
  • ยารับประทาน
  • ทายาเฉพาะที่ร่วมกับการรับประทานยา ควรรักษาอย่างต่อเนื่องและใช้ยาตามแพทย์สั่งจนกว่าจะหายเป็นปกติ
  • คำแนะนำในการปฏิบัติตัว
  • ให้รักษาร่างกายแข็งแรง เพื่อให้มีภูมิต้านทานโรค ได้แก่ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบทั้ง 5 หมู่ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ มีการออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ

รักษาความสะอาดของร่างกาย ดังนี้

  • สระผมให้สะอาด ผู้ที่ตัดผมสั้นหรือโกนผม ต้องทำความสะอาดเครื่องมือ เช่น กรรไกร หรือมีดโกน ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคก่อนนำไปใช้กับผู้อื่นต่อไป
  • หลังจากทำงานหรือออกกำลังกายที่มีเหงื่อออกมาก ควรอาบน้ำให้สะอาดและเช็ดตัวให้แห้ง
  • เสื้อผ้าที่มีนำมาสวมใส่ต้องได้รับการซักและผึ่งแดดแล้ว
  • ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ผ้าห่ม ควรซักให้สะอาดและเปลี่ยนใหม่ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
  • ตัดเล็บมือ เล็บเท้าให้สั้น ล้างให้สะอาดทุกครั้ง
  • ควรล้างเท้าให้สะอาดและเช็ดให้แห้งภายหลัง ย่ำน้ำสกปรก หรือหลังจากการใส่ถุงเท้ารองเท้านานๆ ควรเลือกใส่รองเท้าโปร่งขณะอากาศร้อนหรือขณะเป็นโรคกลาก
  • ผู้ที่มีเชื้อกลากบนศีรษะ ไม่ควรย้อมผมหรือตัดผม จนกว่าจะหายดี

การใช้ยาควรปฏิบัติดังนี้

  • ควรทราบชื่อยา ขนาดของยาและวิธีการใช้ยาอย่างถูกต้อง
  • ทายาหรือรับประทานยาเป็นประจำอย่างต่อเนื่องพร้อมทั้งสังเกตผลข้างเคียงของยา
  • ไม่ควรหยุดใช้ยาเอง ถึงแม้บริเวณรอยโรค จะหาย ควรทายาหรือรับประทานยาให้ครบตามแพทย์สั่ง เพื่อฆ่าเชื้อให้หมดและมาตรวจตามนัด

ข้อแนะนำ

วงแดงที่ผิวหนังหรือเล็บที่ผิดปกติ ไม่ใช่เป็นเชื้อราเสมอไป ควรให้แพทย์ตรวจ และขูดเชื้อเพื่อการวินิจฉัยที่แน่นอน ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง เนื่องจากยาเชื้อราบางชนิดอาจเป็นพิษต่อตับและไตได้

ท่านที่มีปัญหาเกี่ยวกับ
…ผิวหนังหรือโรคผิวหนัง…
ติดต่อสอบถามได้ที่ โทร. 0-7522-5541

ผลิตและเผยแพร่โดย…
กลุ่มภารกิจวิชาการ ศูนย์โรคผิวหนังเขตร้อนภาคใต้ จังหวัดตรัง
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save