การตรวจหาเชื้อราโดยวิธีโปแตสเซียมไฮดรอกไซด์
การตรวจหาเชื้อราโดยวิธีโปแตสเซียมไฮดรอกไซด์
(Potassium hydroxide preparation : KOH)
การตรวจทางเชื้อราที่ผิวหนัง
การตรวจทางเชื้อราที่ผิวหนัง ประกอบด้วยการตรวจสดและการเพาะเชื้อ ในการตรวจสดนิยมใช้น้ำยา 30% โปแตสเซียมไฮดรอกไซด์ (30% KOH) บางครั้งอาจมีการส่องไฟเพื่อดูการเรืองแสงของการติดเชื้อราก่อโรคบนผิวหนัง
อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจ
อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจประกอบด้วยกล้องจุลทรรศน์
- Wood’ s lamp
- สไลด์, กระจกปิดสไลด์
- ใบมีดผ่าตัด เบอร์ 10,15
- น้ำยา 30% KOH
- สำลี, แอลกอฮอล์
- กรรไกรปลายแหลมโค้ง
- สก๊อตเทป
ประเภทการตรวจ
การตรวจสด
- ทำความสะอาดบริเวณผื่นด้วย 70% แอลกอฮอส์
- ใช้ใบมีดขูดสะเก็ดจากผื่น เล็บ ผม
- หยดน้ำยา 30% KOH บนสไลด์และสิ่งส่งตรวจ
- นำไปส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
- ผู้ป่วยสามารถรับผลการตรวจได้ภายในเวลา 15 นาที และนำผลไปพบแพทย์
การขูดเชื้อบริเวณผิวหนัง
- หยดน้ำยา 30% KOH
- ตรวจวิเคราะห์ด้วยกล้องจุลทรรศน์
- การตรวจดูการเรืองแสง
การตรวจดูการเรืองแสง
นำผู้ป่วยเข้าไปในห้องมืดและใช้เครื่องตรวจส่องไฟบริเวณโรคจะเห็นการเรืองแสงตามชนิดของเชื้อโรค
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยในการตรวจสด
- ขณะขูดสะเก็ดผิว ผู้ป่วยควรให้ความร่วมมือด้วยการอยู่นิ่งๆ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการถูกใบมีดบาด
- ขณะขูดสะเก็ด ถ้ามีอาการอักเสบมากอาจมีความรู้สึกเจ็บ ผู้ป่วยสามารถบอกเจ้าหน้าที่ได้แต่ห้ามปัดมือหรือดึงมือเจ้าหน้าที่ (ถ้าขูดที่มือ) เพราะอาจทำให้ใบมีดบาดได้
- ในขณะส่องไฟเพื่อดูการเรืองแสงผู้ป่วยควรหลับตา เพราะแสงที่ใช้จะมีอันตรายต่อดวงตา ทำให้เกิดโรคต้อกระจกในระยะยาวได้
ผลิตและเผยแพร่โดย…
กลุ่มงานพยาธิวิทยา กลุ่มภารกิจวิชาการ
ศูนย์โรคผิวหนังเขตร้อนภาคใต้ จังหวัดตรัง
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข